กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม

 

 
 

2. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

2.1 พรบ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550

2.2.1 กฎกระทรวง การป้องกันและระงับอัคคีภัย 2555

2.2.2 กฎกระทรวง การป้องกันและระงับอัคคีภัย ฉบับที่ 2 2561

2.3 กฎกระทรวง ความร้อน แสงสว่าง เสียง 2559

2.4 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานในแต่ละวัน

2.5 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องมาตรฐานความเข้มข้นของแสงสว่าง

2.6 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน-2561-และที่แก้ไขเพิ่มเติม

2.7 ประกาศกรมฯ เรื่อง กำหนดแบบรายงานผลการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงาน เกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง 2561

 

6. COVID-19

6.1 ข้อกำหนดฉบับที่ 46

6.2 ประกาศกรมอนามัย โควิด 2563

6.3 ประกาศมหาวิทยาลัยฯ มาตรการ covid ฉบับที่ 35

 

Write comment (0 Comments)

       ประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศที่กำลังพัฒนา ไม่มีพันธกรณีที่จะต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าชเรือนกระจก มีเพียงพันธกรณีในการจัดทำรายงานแห่งชาติ เพื่อเสนอต่อสำนักงานเลขานุการอนุสัญญา UNFCCC ซึ่งการดำเนินงานระดับประเทศที่ผ่านมา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็ได้มีการดำเนินการมากมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้กลไกการพัฒนาที่สะอาด นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีการดำเนินงานในระดับเมือง เนื่องจากเมืองใหญ่ทั่วโลกมีการใช้พลังงานถึง 3 ใน 4 ส่วนของพลังงานที่ใช้ทั้งหมด ดังนั้น ภาครัฐจึงตั้งเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ 5 ด้าน คือ การพัฒนาระบบขนส่งมวลชน การส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือก การปรับปรุงอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในอาคาร การจัดการขยะและน้ำเสีย และการเพิ่มพื้นที่สีเขียว จากปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าวเหล่านี้ จึงมีความจำเป็นในการใส่ใจเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในปัจจุบันให้คุ้มค่าที่สุด  โดยการปรับปรุงพฤติกรรมในการใช้พลังงาน ลดการใช้พลังงาน เป็นต้น ดังนั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร จึงได้เล็งเห็นความสำคัญต่อการเพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วยการดำเนินการให้สถานที่ทำงานเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวหรือให้หมายความว่าเป็นสำนักงานสีเขียว โดยบรรจุไว้ในประเด็นยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ประเด็นที่ 4 พัฒนาระบบบริหารจัดการมหาวิทยาลัยให้ทันสมัย ได้มาตรฐาน มีธรรมาภิบาล และเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม เป้าประสงค์ที่ 4 การบริหารจัดการที่ทันสมัยตามหลักธรรมาภิบาล และเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม กลยุทธ์ที่  5 พัฒนามหาวิทยาลัยด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) และมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศน์ (ECO University) ตัวชี้วัดที่ 34) ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) ซึ่งมหาวิทยาลัยสีเขียวประจำปีงบประมาณ 2561 ให้หมายความคือสำนักงานสีเขียว และอีก 3 ปี ข้างหน้า จะพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัย
สีเขียว เพื่อใช้เป็นแนวทางหนึ่งที่จะสามารถทำให้บุคลากรเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการลดปัญหาที่เกิดขึ้นจากสภาวะโลกร้อนตามนโยบายของรัฐบาลและที่สำคัญจะต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาในปริมาณต่ำ โดยมีวัตถุประสงค์                   

1. เพื่อส่งเสริมให้สำนักงานนำความรู้สำนักงานสีเขียว (Green Office) ไปประยุกต์ใช้
2. เพื่อตรวจประเมินและรับรองสำนักงานสีเขียวในหน่วยงานภาครัฐ
3. เพื่อส่งเสริมให้สำนักงานมีการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
4. เพื่อสร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีส่วนทำให้บุคลากรและนักศึกษามีความภาคภูมิใจและมีกำลังใจในการเรียนและการทำงาน
5. เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาในปริมาณที่ต่ำ

โครงการสำนักงานสีเขียว เป็นส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในสำนักงาน เพื่อลดการใช้พลังงาน ดำเนินกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ลดปริมาณขยะโดยการลดการใช้การใช้ซ้ำ การนำกลับมาใช้ใหม่ การลดและเลิกใช้สารเคมีอันตราย รวมทั้งการจัดซื้อ จัดจ้างสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ทำแล้วได้อะไร
1. ลดค่าใช้จ่ายในสำนักงาน จากการใช้ทรัพยากร พลังงานอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
2. มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพของพนักงาน
3. เป็นการยกระดับมาตรฐานสำนักงานให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
4. ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดโลกร้อน

Write comment (0 Comments)

เพลง : KPRU ร่วมใจ ลดใช้พลังงาน

เพลง : นโยบายสิ่งแวดล้อม KPRU

โครงการสำนักงานสีเขียว อาคารเรียนรวมและอำนวยการ (KPRU) ปี 2565